พฤติกรรมการนอน ส่งผลต่อสุขภาพได้
พฤติกรรมการนอน สามารถส่งผลถึงภาวะต่างๆ ของร่างกายได้ การนอนหลับเป็นส่วนสำคัญของชีวิตอย่างมาก ในระหว่างที่คุณหลับร่างกายจะเริ่มทำงานเพื่อรักษาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอระหว่างการใช้งานในตอนตื่น การซ่อมแซมเซลล์สมอง ผลิตฮอร์โมนส์ที่ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน รวมไปถึงจัดระเบียบข้อมูลในสมอง
อย่างไรก็ตาม หลายคนมีปัญหากับการนอน ด้วยเหตุจำเป็นหลาย ๆ อย่าง เช่น สภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่ดี ความเครียดสะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายได้หลายอย่างโดยเฉพาะในระยะยาว ดังนั้นการนอนที่ดีจึงสำคัญอย่างมาก ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกับผลกระทบของการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ ว่ามันสามารถสร้างผลร้ายแรงอะไรได้บ้าง
ผลกระทบของ พฤติกรรมการนอน ที่ไม่ดีต่อสุขภาพกาย
- นิสัยการนอนที่ไม่ดี หรือมีการนอนที่ไม่ถูกต้องตามหลักสุขภาพ สามารถสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายของคุณได้หลายอย่าง
- ผลกระทบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการนอนหลับไม่เพียงพอคือ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอ้วน การอดนอนนั้นจะทำให้ร่างกายเพิ่มอัตราผลิตฮอร์โมนความหิวเนื่องจากร่างกายรู้สึกว่ามีพลังงานไม่มากเพียงพอ นำไปสู่การกินเยอะผิดปกติ ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เกิดภาวะ Bing Eating Disorder ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถควบคุมตัวเองในการกินได้ เมื่อหยุดกินจะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน สุดท้ายก็ต้องกินเพื่อหยุดอาการเหล่านั้น แต่ยิ่งกินยิ่งไม่พอ และรู้สึกแย่ที่ไม่สามารถหยุดได้ สุดท้ายก็จะส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างมาก
- การนอนหลับยังมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ระหว่างการนอนหลับ ร่างกายจะผลิตไซโตไคน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อและการอักเสบ หากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ ร่างกายจะผลิตไซโตไคน์น้อยลง ทำให้ไวต่อการเจ็บป่วยและการติดเชื้อมาก ๆ
ผลกระทบของพฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิต
- นอกจากปัญหาสุขภาพร่างกายแล้ว นิสัยการนอนที่ไม่ดียังส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตอีกด้วย การอดนอนสามารถสร้างผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตหลายอย่าง รวมถึงภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และหงุดหงิดง่าย
- ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการนอน ซึ่งจะที่มีอาการหลับยากและหลับไม่สนิท มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากการนอนที่ไม่เพียงพอจะทำให้สมองผลิตฮอร์โมนส์ด้านความรู้สึกออกมาไม่สมดล บางครั้งอาจจะมากไปหรือน้อยไป ซึ่งทำให้คนที่มีอาการซึมเศร้าอยู่แล้วอาการแย่ลง
นอกจากนี้ นิสัยการนอนที่ไม่ดีอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำงานของสมอง การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการข้อมูลภายในสมอง เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอสมองจะไม่สามารถดึงข้อมูลมาใช้งานได้ ส่งผลให้มีอาการมึนงง จำอะไรไม่ค่อยได้ หากมีการอดนอนเป็นระยะเวลานานก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมได้
วิธีการแก้ไขพฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่ดี
- สร้างกิจวัตรการนอนหลับ: การเข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวันสามารถช่วยควบคุมนาฬิกาภายในร่างกายและปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้นได้
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนหลับ: การนอนหลับนั้นจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ มืด และเย็น พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการเล่นมือถือก่อนนอน
- หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น: คาเฟอีนและนิโคตินสามารถรบกวนการนอนหลับของคุณได้ นอกจากจะทำให้หลับยากแล้วยังทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพอีกด้วย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ในช่วงเวลาก่อนเข้านอน
- ออกกำลังกายเป็นประจำ: งานวิจัยหลาย ๆ ชิ้นแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งควรเป็นการออกกำลังกายระหว่างวัน ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอนเนื่องจากจะทำให้สมองตื่นตัวและหลับยาก
- ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย: เทคนิคต่างๆ เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ และโยคะสามารถช่วยส่งเสริมการผ่อนคลายและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ
สุดท้ายนี้ การนอนหลับอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับหลาย ๆ คน แต่ความจริงแล้วการนอนหลับที่ดีจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดโอกาสการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี